รู้ก่อน บรรเทาได้ เจาะ 3 โรคยอดฮิตทางสมอง

 

เมื่อเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุ สิ่งที่ทุกคนและคนที่มีผู้สูงวัยอยู่ในครอบครัวต้องเจอก็คือ  โรคภัยไข้เจ็บ และปัญหาสุขภาพที่สะสมไว้ตั้งแต่วัยทำงาน จนเข้าสู่วัยชรา   ซึ่งปัญหาที่น่ากังวลใจของผู้สูงวัยนั้นมีมากมายทั้งโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยเช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน  แต่รู้หรือไม่  ว่านอกจากโรคที่คุ้นเคยเหล่านี้แล้ว  โรคของความเสื่อมทางสมองที่คนในปัจจุบันเริ่มเป็นกันเยอะ ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มปัญหาสุขภาพที่น่ากังวลเช่นกัน    บทความนี้มีเช็กลิสต์ 3 ปัญหาสุขภาพที่ผู้สูงอายุ ต้องเจอมาให้ได้รู้จัก เพื่อเฝ้าระวังและป้องกัน

อันตรายที่น่ากลัวของโรคหลอดเลือดสมอง 

#โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่า #โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดในสมองตีบ อุดตันและมีเลือดออกในสมอง เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ผลที่ตามมาก็คือ เซลล์สมองจะถูกทำลาย ทำให้สมองส่วนที่ควบคุมสูญเสียการทำหน้าที่ ขั้นรุนแรงก็เสียชีวิต รองลงมาคือพิการถาวร หรือ พิการที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนาน  พูดไม่ชัด ควบคุมตนเองไม่ได้   มีความผิดปกติทางอารมณ์ หัวเราะ ร้องไห้แบบไม่มีเหตุผล เข้าสังคมลำบาก เกิดอาการปวดโดยไม่ทราบสาเหตุเนื่องจาก ศูนย์ควบคุมการทำงานในสมองทำงานผิดปกติ รวมไปถึงมีอาการหลงลืม คล้ายกับอัลไซเมอร์ เนื่องจากสาเหตุของหลอดเลือดที่อุดตัน  

โรคถัดมาที่ต้องกังวลในผู้สูงอายุและมีความเกี่ยวเนื่องกับโรคแรก   ก็คือ  โรคพาร์กินสัน   เพราะโรคหลอดเลือดสมองและโรคพาร์กินสัน   เพราะเป็นโรคที่มีผลต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท โดยมีความเชื่อมโยงกัน  ในแง่ของการที่มีผลต่อระบบประสาทเหมือนกัน อาการแสดงที่คล้ายคลึงกัน  เช่น การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ  และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่มีความใกล้เคียงกัน  เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่  เป็นต้น

พาร์กินสัน  โรคสั่นจากความเสื่อม

โรคพาร์กินสัน เป็นภาวะความเสื่อมของเซลล์สมอง ในส่วนก้านสมองที่เรียกว่า ซับสแตนเชียร์ไนกร้า พาร์ คอมแพกต้า (Substantia Nigra Pars Compacta) ซึ่งเซลล์สมองนั้นมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนไข้พาร์กินสันจึงมีอาการสั่น เกร็ง เคลื่อนไหวช้า ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป หากไม่รักษาส่วนใหญ่จะเกิดอัลไซเมอร์ตามมา

อาการหลัก ๆ ที่พบบ่อย

  • มีอาการสั่นขณะพัก เช่น ขณะนั่งนิ่ง ๆ มือจะสั่น แต่ถ้าเคลื่อนไหวหยิบสิ่งของมือจะไม่สั่น
  • การเคลื่อนไหวช้า การ ยืน เดิน นั่ง
  • การก้าวเท้าถี่ ๆ  และการหยุดเดินทำได้ยาก
  • อาการแข็งเกร็ง เช่น ใบหน้าแข็งเกร็งไร้ความรู้สึก ไม่สามารถแสดงความรู้สึกทางใบหน้าได้
สาเหตุเกิดจากสารพิษสะสมในร่างกาย   ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว ส่งผลให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ รวมถึง ผลข้างเคียงของยาหลายชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยานอนหลับ ยาต้านความเศร้าบางชนิด และยาเคมีหลายชนิด เป็นต้น  

และอีกหนึ่งโรคยอดฮิตทางสมองอันดับที่ 3   ที่พบได้บ่อย ๆ ในผู้สูงอายุ  คือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ 

อัลไซเมอร์ โรคของความเสื่อมที่รู้ทัน ป้องกันได้ 

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด  โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกๆส่วน  ผู้ป่วยจะสูญเสียความจำโดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดใหม่ ๆ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง  ไม่สามารถแยกแยะถูกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การสื่อสาร สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด สับสน ก้าวร้าวรุนแรง หรือเกิดภาพหลอนและเสียชีวิตในที่สุด

โรคเหล่านี้นับว่าเป็นโรคยอดฮิตลำดับต้นของที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เพราะเมื่อเป็นแล้วจะส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน เดิน หรือเคลื่อนไหว ได้ตามปกติ นับว่าส่งผลต่อการใช้ชีวิตและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก

แม้หลายคนจะมองว่าโรคเหล่านี้เป็นโรคร้ายแรง บางคนเป็นแล้วอาจจะหมดกำลังใจในการสู้กับโรค แต่รู้หรือไม่ว่าหากดูแลตนเองอย่างถูกวิธีก็สามารถฟื้นตัวได้เช่นกัน 

ความก้าวหน้าของการดูแลรักษาแบบการแพทย์บูรณาการ

ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ และการนำความรู้จากหลายศาสตร์ทางการแพทย์เข้ามาผสมผสาน ทำให้เราสามารถวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับเฉพาะบุคคล โดยมุ่งเน้นเข้าไปแก้ต้นเหตุของปัญหา เพื่อซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมไปแล้วให้มีโอกาสกลับมาทำงานได้สูงสุด ด้วยวิธีการ ดังนี้

  1. การบำบัดด้วยวิธีล้างสารพิษโลหะหนักออกจากร่างกาย  เพื่อลดการสะสมของสารพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค
  2. การใช้สารอาหารบำบัด  ที่มีงานวิจัยสนับสนุนว่ามีส่วนช่วยฟื้นฟูเซลล์สมอง ได้แก่ กรดอะมิโนจำเป็น วิตามิน กรดไขมันจำเป็น  แร่ธาตุ  และสารสกัดจากพืชที่มีประโยชน์ เช่น สารสกัดจากใบแปะก๊วย โสม ชาเขียว ถั่งเช่า เป็นต้น
  3. การปรับสมดุลฮอร์โมน หรือการใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อแก้ไขความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม
  4. การใช้เทคนิคภูมิต้านทานบำบัด เพื่อปรับสมดุลการตอบสนองของภูมิต้านทานและลดการอักเสบของเซลล์ในสมอง
  5. การใช้สารชีวโมเลกุลบำบัด หรือกลุ่มเซลล์บำบัด ซึ่งมีกรณีศึกษาว่ามีแนวโน้มจะได้ผลดีในการซ่อมแซมเซลล์สมองที่เสื่อมลง ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลทางเลือกของการรักษาใหม่ที่น่าสนใจ
  6. TMS: Transcranial Magnetic Stimulation ทำงานโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อช่วยกระตุ้นเซลล์สมอง ช่วยให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทที่ช่วยในการทำงานของสมอง ทำให้สมองกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ

ทุกๆ การรักษาเราจะพิจารณาแบบเฉพาะบุคคล เพื่อให้แต่ละบุคคลได้รับการดูแลรักษาที่รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่รักษาตามชื่อโรค หรือตามอาการของโรค เพราะเราเชื่อว่า การรักษาที่ดีที่สุดนั้น ต้องเริ่มจากการดูแลให้ร่างกายคนไข้เกิดประสิทธิภาพในการฟื้นฟูตัวเองได้สูงสุดนั่นเอง

ประสบการณ์จากผู้รับการรักษาจริง

สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าออนไลน์เท่านั้น
เพียงเพิ่มเพื่อนใน Line OA และแจ้งแอดมินว่ามาจาก Website


บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้